✆ 02-555-2000 ext 8110, 8114, 8147 ✉ pr@eng.kmutnb.ac.th
✆ 02-555-2000 ext 8110, 8114, 8147 ✉ pr@eng.kmutnb.ac.th

Toward ABET

Faculty of Engineering, KMUTNB

Quality Management

Faculty of Engineering, KMUTNB mainly focuses on the outcome-based education. We have adopted the educational standard of ABET (Accreditation Board for Engineering and Technology) to enhance the quality of all engineering programs. Our faculty members are putting the effort via continuous improvement procedures in order to meet the defined standard of educational quality.

Faculty of Engineering encourages all engineering programs to be accredited by the educational standard agents such as ABET and TABEE (a national educational standard of Thailand). Moreover, students who graduate from the ABET’s accredited program are verified that their educational experience meet the global standard for technical education in their profession. This will enhance the job opportunities for student since multinational corporations usually require graduation from an accredited program.

Link to ABET
https://www.abet.org/about-abet/
https://www.abet.org/accreditation/

Link to TABEE
https://www.coe.or.th/http_public/main/choice_2/tabee_v2/menu0001.php#

โครงการขับเคลื่อนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับการรับรองจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) ภายในปี พ.ศ. 2565

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. โดย หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี (เสริมทักษะภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นหลักสูตรนำร่องของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ในโครงการขับเคลื่อนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับการรับรองจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) ภายในปี พ.ศ. 2565 เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาไทยยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและสมรรถนะในการประกอบวิชาชีพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานระดับโลก โดยหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานคุณภาพเทียบเคียงกับนานาชาติจะสามารถขยายความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศในด้านต่างๆ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำต่างประเทศที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายใต้ข้อตกลงในระดับนานาชาติ Washington Accord

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มจพ. ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 โดยกระทรวงฯ ได้เล็งเห็นความพร้อมของภาควิชาฯ จึงให้ความอนุเคราะห์เรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญจาก สมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (The Association of Thai Professionals in America and Canada: ATPAC) ได้แก่ Professor Dr. Methi Wecharatana จาก New Jersey Institute of Technology (NJIT) และ Assoc.Professor Dr.Vira Chankong จาก Case Western Reserve University (CWRU) เข้าตรวจรายงานการศึกษาตนเอง (Self-Study Report: SSR Review) และทดลองประเมิน (Mini Mock Visit) ตามเกณฑ์ ABET EAC 2020-2021 เมื่อวันที่ 3-4 สิงหาคม 2563 ผลการตรวจประเมินเบื้องต้นอยู่ในเกณฑ์ดีและมีความพร้อมในการส่งหลักสูตรวิศวกรรมเคมี มจพ. เข้าสมัครเพื่อขอรับรองการตรวจประเมินเบื้องต้นในรูปแบบ Readiness Review Report ในรอบ 1 ตุลาคม 2563

31 มกราคม 2563 : รองศาสตราจารย์สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการขับเคลื่อนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับการรับรองจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) ภายในปี พ.ศ. 2565

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาไทยให้ได้รับการรับรองจาก Accreditation Board for Engineering and Technology (ABET) ของสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2558 เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาไทยยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ผลักดันให้หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ไทยสามารถผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและสมรรถนะในการทำงานตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและข้อกำหนดในการประกอบวิชาชีพระดับสากล และสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้ทั่วโลกนอกจากนี้ยังเป็นช่องทางในการสร้างภาคีเครือข่ายต่างประเทศ โดยหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานคุณภาพเทียบเคียงกับนานาชาติจะสามารถขยายความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศในด้านต่างๆ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำต่างประเทศที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานคุณภาพการศึกษาภายใต้ข้อตกลงในระดับนานาชาติร่วมกันทั้งในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก

เพื่อเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับสมาคมนักวิชาชีพไทยในอเมริกาและแคนาดา (The Association of Thai Professionals in America and Canada: ATPAC) และผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศ ได้แก่ การประชุมวิชาการและการจัดอบรมให้ความรู้ในเบื้องต้นเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ตามเกณฑ์ของ ABET การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมเพื่อขอรับการรับรอง การจัดให้ผู้เชี่ยวชาญเดินทางไปตรวจรายงานการศึกษาตนเอง (Self-Study Report: SSR Review) และทดลองประเมิน (Mock Visit) ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

การจัดทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการขับเคลื่อนให้สถาบันอุดมศึกษาไทยได้รับการรับรองจาก ABET ภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ

1) เพื่อผลักดันให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการฯ ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับสถาบันอุดมศึกษานำร่องที่เข้าร่วมโครงการฯ มีแนวทางที่ชัดเจน สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมภายในปี พ.ศ. 2565

2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษานำร่องที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้มีมาตรฐานคุณภาพสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานของ ABET และขยายผลไปสู่สถาบันอุดมศึกษาแห่งอื่นต่อไป

3) เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยมีหน่วยงานรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ในระดับสากล โดยคณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ หรือ TABEE (Thailand Accreditation Body for Engineering Education) กำลังก้าวไปสู่การพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ตามเกณฑ์ผลลัพธ์เพื่อเป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาที่เทียบเคียงกับนานาชาติ